สโมสรเพื่อนตะวันออก
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
สโมสรเพื่อนตะวันออก

peunpeuntawanok.forumsmotion.com


You are not connected. Please login or register

เพื่อนร่วมทาง

2 posters

Go down  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

1เพื่อนร่วมทาง Empty เพื่อนร่วมทาง Wed Jul 28, 2010 12:07 pm

kobmanee



เดินทางทั้งที หาเพื่อนร่วมทางดีๆกันเถอะ

ใครพบเจอเพื่อนเราอยู่ที่ไหนก็เอามาฝากกันนะคะ

จะได้รู้ว่าเราไม่โดดเดี่ยว

วันนี้มาเพื่อนมาแนะนำ ๑ องค์กรค่ะ


กรณีศึกษา บริษัทสวนเงินมีมา จำกัด
(Garden of Fruition, Suan Nguen Mee Ma)

1. ภาพรวมของธุรกิจ

1.1 ประวัติ ความเป็นมา
เริ่มจากการค้นพบ “จุดอ่อน” ของ NGOs แบบเดิม ที่ต้องพึ่งพาแหล่งทุนภายนอก ไม่สามารถสร้างรายได้เพื่อหล่อเลี้ยงตัวเอง ในขณะที่องค์กรธุรกิจก็มุ่งเน้นกำไร โดยละเลยสังคม จึงเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างบริษัทที่มีแนวคิดใกล้เคียงกับคำว่า “ผู้ประกอบการเพื่อสังคม” ขึ้นมา

“บริษัท สวนเงินมีมา” ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2544 เพื่อดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจไปพร้อมกับ กิจกรรมทางสังคม อันประกอบไปด้วยผู้ถือหุ้นทั้งจากองค์กรด้านสังคมและนักธุรกิจ ที่ใส่ใจในปัญหาสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม และศักยภาพด้านในของมนุษย์

1.2 แนวคิดของธุรกิจ
การผลิตหนังสือในแนว “กระบวนทัศน์ใหม่” ทั้งด้านการศึกษา ศิลปะ เศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ ถึงแม้จะ ไม่ใช่กระแสหลักของสังคม แต่ก็มีตลาดเฉพาะของตัวเอง ที่สำคัญยังมี “คู่แข่ง” ไม่มากนัก เพราะต้องใช้ทั้ง ความสามารถในเชิงธุรกิจ ควบคู่กับความสนใจเรื่องราวทางสังคม
เคล็ดลับสำคัญ คือ การทำ Social Marketing ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์หนังสือและบริษัท โดยไม่ใช่แค่การถามและตอบ(Q&A) เหมือนกับบริษัทหนังสือทั่วไป แต่มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และกิจกรรมทางสังคมควบคู่ไปด้วยเสมอ จึงทำให้ยากที่ “คู่แข่ง” จะเข้ามาแย่งชิงตลาดได้ เพราะขาดความเข้าใจที่ลึกซึ้งและความพร้อมที่จะลงทุนในจุดแข็งนี้

1.3 วิสัยทัศน์ของบริษัท
จนกระทั่งปัจจุบัน บริษัทสามารถเผยแพร่ “กระบวนทัศน์ใหม่” ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมไปในวงกว้างมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หนังสือนับ 100 เล่มที่พิมพ์จำหน่ายนั้น ยังคงเป็น “หนังสือแปล” ถึง 80% ดังนั้น วิสัยทัศน์ของบริษัท ที่นอกจากพยายามผลักดัน “กระบวนทัศน์ใหม่” โดยผ่านสื่อและกิจกรรมที่หลากหลายแล้ว ยังต้องการที่จะพัฒนาคนรุ่นใหม่ให้สามารถผลิตผลงานในเชิงกระบวนทัศน์ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เพิ่มมากขึ้นทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยหวังว่าความคิดและเครือข่ายที่บริษัทได้พัฒนามาหลายปีนั้น จะช่วยทำให้เกิด “นักเขียนหน้าใหม่” เพิ่มมากขึ้น แน่นอนว่า รากฐานของการเขียน ก็คือ การอ่าน ดังนั้น สำนักพิมพ์จึงยังคงเร่งพัฒนา เผยแพร่ และจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้สังคมไทยเป็น “สังคมอุดมปัญญา (Wisdom Society)”

1.4 วัตถุประสงค์
1. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ผลิตและผู้บริโภค ด้วยตระหนักถึงพลังอันสร้างสรรค์ ของผู้บริโภค รวมทั้งจิตสำนึกที่ตื่นขึ้นมารับผิดชอบร่วมกับผู้ผลิต ในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม ชุมชน สุขภาพ
2. รณรงค์ให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของรูปแบบทางเศรษฐกิจ ธุรกิจ และการตลาด ที่เป็นโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันถึงคุณค่าอย่างใหม่ในการดำเนินชีวิต
1.5 ขั้นตอนการเริ่มดำเนินการเริ่มจากการนำแนวคิดธุรกิจมาปรึกษาคุณสุลักษณ์ ศิวรักษ์ จึงได้รับเงินลงทุนเริ่มต้น 250000 บาท หลังจากนั้นจึงได้เขียน Business Plan เพื่อระดมทุนเพิ่มเติมจากนักธุรกิจและองค์กรเพื่อสังคมต่างๆ จนได้เงินทุนจดทะเบียนในเบื้องต้น 5 ล้านบาท

1.6 สรุปผลการทำงานที่ผ่านมา
ในช่วงเริ่มต้น หนังสือที่พิมพ์ออกมาขายได้ไม่มากนัก กว่าจะพิมพ์ซ้ำครั้งที่ 2 ก็ผ่านไป 5 ปี แต่ในปัจจุบันหนังสือที่พิมพ์ออกมามีเกินกว่า 100 เล่มแล้ว และบางเล่มสามารถพิมพ์ซ้ำได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน โดยได้รับความสนใจจากสถาบันต่างๆ มาขอซื้อครั้งละมากๆ ตั้งแต่ปี 2549 สวนเงินมีมา เริ่มได้รับความสนใจจากองค์กรต่างๆ ทั้งการสั่งซื้อหนังสือ การขอคำปรึกษาในเรื่องการจัดกิจกรรมสัมมนา จนกระทั่งได้รับ “ทุน” จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อจัดทำโครงการ “เครือข่ายตลาดสีเขียว” เพื่อเผยแพร่และสนับสนุนการสร้างเศรษฐกิจสีเขียว(Green Economy) ให้ประสบความสำเร็จในประเทศไทยสวนเงินมีมา จึงกำลังอยู่ในช่วงวงจรแห่งการเจริญเติบโต และสามารถเผยแพร่กระบวนทัศน์ใหม่ทางสังคมออกไปสู่สาธารณะชนในวงกว้างได้อย่างทรงพลัง

2. ผลิตภัณฑ์/บริการ
2.1 ภาพรวมผลิตภัณฑ์/บริการ
สวนเงินมีมา มุ่งเน้นการเผยแพร่ “กระบวนทัศน์ใหม่” ทางสังคมอย่างครบวงจร ดังนั้นผลิตภัณฑ์และบริการจึงมีหลากหลาย ดังนี้

1. สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา ผลิตหนังสือเพื่อเผยแพร่ “กระบวนทัศน์ใหม่” ทั้งทางด้านการศึกษา ศิลปะเศรษฐกิจ และวิทยาศาสตร์ ฯลฯ โดยปัจจุบันได้มีผลิตงานออกมานับ 100 ชิ้นแล้ว
2. ร้านหนังสือศึกษิตสยาม เป็นสถานที่สำหรับผู้คนมานั่งเล่น ได้พลิกอ่าน หนังสือ เป็นการบ่มเพาะอุปนิสัยรักการอ่าน หรือวางรากฐานด้านวัฒนธรรมหนังสือ ให้มั่นคง ยิ่งนักอ่าน รุ่นใหม่สนใจพูดคุยถกเถียงและอภิปรายกันด้วยปัญหาต่างๆ ยิ่งสมควรมีที่ทางให้ผู้คนได้ใช้ ตั้งแต่ปี 2553 บริษัทสวนเงินมีมาจะเปลี่ยนชื่อร้านเป็น “สวนเงินมีมา” เพื่อสร้างแบรนด์ที่ชัดเจนให้กับผู้บริโภค
3. การจัดงานสัมมนาเพื่อเผยแพร่แนวคิดทางสังคม (Social Marketing) มีการเชิญผู้เขียนหนังสือเล่มต่างๆของทางสำนักพิมพ์ มาปาฐกถาและเสวนาแลกเปลี่ยน โดยไม่จำกัดที่การโปรโมตหนังสือ แต่ยังเป็นการเผยแพร่แนวคิดและสร้างเครือข่ายของผู้ที่สนใจอีกด้วย
4. ออร์แกนิคสเตชั่น (Organic Station) ตั้งอยู่ที่ร้านหนังสือศึกษิตสยาม โดยเป็นมุมสถานีเกษตรอินทรีย์เล็กๆ ภายในร้านจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์จากแหล่งผลิตในชุมชนและผู้ประกอบการราย ย่อยต่างๆ ที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของ เกษตรอินทรีย์โดยมีมุมเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และระบบ CSA เพื่อสร้างผู้บริโภคสายพันธุ์ใหม่ที่นอกจากจะรักสุขภาพแล้วยังตระหนักและ ห่วงใยถึงสิ่งแวดล้อม
5. โครงการพิเศษ เช่น เครือข่ายตลาดสีเขียว ที่ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

2.2 ศักยภาพและขอบเขตของผลิตภัณฑ์/บริการ
ผลิตภัณฑ์และบริการของสวนเงินมีมา ได้ขยายขอบเขตจากสำนักพิมพ์เล็กๆ ไปเป็นสำนักพิมพ์ที่สร้างผลกระทบในวงกว้าง และยังได้รับทุนสนับสนุนให้จัดทำโครงการพิเศษ เพื่อเผยแพร่กระบวนทัศน์ใหม่ทางสังคมยิ่งกว่านั้น ภายหลังการตื่นตัวเรื่อง “โลกร้อน” ได้กลายเป็นกระแสโลก รวมถึง กระบวนทัศน์ใหม่ทางด้านการศึกษา ธุรกิจเพื่อสังคม ฯลฯ ได้รับความสนใจจากผู้คนในวงกว้าง จึงทำให้ผลิตภัณฑ์และบริการของสวนเงินมีมา มีศักยภาพในการขยายตัวทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ จนสามารถ “สื่อสาร” กับประชาชนได้อย่างครบวงจร

3. โอกาสทางธุรกิจ
3.1 แผนการตลาด
“สวนเงินมีมา” เชื่อว่าการทำกิจกรรมเพื่อสังคมไม่ควรปฏิเสธ “ความงาม” เหมือนกับที่ NGOs ส่วนใหญ่เชื่อถือกัน ดังนั้น สำนักพิมพ์จึงให้ความสำคัญกับ “การออกแบบ” หนังสือเพื่อให้มีสุนทรียะและเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ทำให้สินค้าของตนเองโดนเด่นสะดุดตาจากคู่แข่งเมื่อวางเรียงกันในร้านหนังสือทั่วประเทศ

ปรัชญาในการออกแบบที่ใช้คือ “วะบิ-ซะบิ” ที่เน้นความงามที่อิงกับธรรมชาติ แสวงหาสุนทรียะท่ามกลางความไม่ยั่งยืนของสรรพสิ่ง ยิ่งกว่านั้น สำนักพิมพ์ควรจะมี “บุคลิก” เฉพาะตัว เพื่อให้คนจดจำได้ และในที่สุดก็จะกลายเป็นแฟนประจำ โดยสวนเงินมีมาจะเลือกพิมพ์เฉพาะหนังสือที่เข้ากับบุคลิก นั่นคือ กระบวนทัศน์ใหม่ในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ การศึกษา ศิลปะ ฯลฯ

นอกจากนี้ สำนักพิมพ์ยังมีการทำ Social Marketing ในรูปแบบต่างๆ ซึ่งนอกจากสอดคล้องกับอุดมการณ์ในการก่อตั้งสวนเงินมีมาแล้ว ยังช่วยในการประชาสัมพันธ์หนังสือของสำนักพิมพ์อีกด้วย

3.2 แผนการผลิต
สำนักพิมพ์ค่อนข้างให้ความสำคัญกับการใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการผลิตหนังสือ โดยได้เปลี่ยนจากการใช้กระดาษอาร์ตมันมาเป็นกระดาษปอนด์ แน่นอนว่า ในอุดมคติบริษัทต้องการจะใช้กระดาษ Recycle แต่เนื่องจากต้นทุนที่ค่อนข้างสูง จึงต้องประนีประนอมมาใช้กระดาษปอนด์ที่ทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยกว่ากระดาษอารต์มัน

อย่างไรก็ตาม กระดาษปอนด์มีความคงทนน้อยกว่ากระดาษอาร์ตจึงอาจทำให้หน้าปกยับเยินได้ง่ายกว่า ดังนั้นสำนักพิมพ์จึงได้แก้ปัญหาด้วยการใส่ “ปีกปก” เพื่อทำให้ปกหนงสือแข็งแรงขึ้น แน่นอนว่า ย่อมทำให้หนังสือมีราคาแพงขึ้น แต่กระนั้นก็ยังถือเป็นการสร้าง “ความแตกต่าง” จากหนังสือทั่วไป โดยเฉพาะเมื่อสามารถใส่ประวัติผู้เขียนเข้าไปที่ “ปีกปก” ซึ่งช่วยในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคได้อีกทางหนึ่งด้วย

เนื่องจาก “บุคลิก” ของหนังสือเป็นสิ่งที่ต้องรักษาให้เกิดความภักดีในแบรนด์ ดังนั้น ในการจัดทำหนังสือจะต้องมีการ “ประชุม” อย่างสม่ำเสมอ เพื่อร่วมกันคิด Concept และการออกแบบให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันโดยจะเห็นว่า แม้สำนักพิมพ์จะจ้างบริษัทออกแบบปกนับ 10 แห่ง แต่รูปลักษณ์และสไตล์ยังคงรักษาบุคลิกเฉพาะตัวของหนังสือไว้ เนื่องจากสำนักพิมพ์มีความชัดเจนในแนวคิดจึงสามารถบรีฟงานให้ฝ่ายออกแบบได้อย่างถูกต้องตรงตามสิ่งที่ต้องการนำเสนอให้กับนักอ่าน

3.3 วิเคราะห์ตลาด และคู่แข่ง
ในปัจจุบันมีสำนักพิมพ์ผุดขึ้นมาแข่งขันกันเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม กลุ่มลูกค้าของ “สวนเงินมีมา” มีลักษณะเฉพาะค่อนข้างมาก ดังนั้น จึงมีคู่แข่งไม่มากนัก โดยเฉพาะคนที่จะทำหนังสือประเภทนี้ได้จะต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านกิจกรรมเพื่อสังคมเป็นอย่างดี ซึ่งทำให้ยากที่สำนักพิมพ์ทั่วไปจะสามารถเข้ามาแข่งขันได้เลย

ปัญหาสำคัญของ “สวนเงินมีมา” จึงน่าจะอยู่ที่การขยายตลาดมากกว่าความรุนแรงจากการแข่งขัน โดยเฉพาะเมื่อคนไทยยังค่อนข้างล้าหลังในเรื่องกิจกรรมเพื่อสังคม แต่ในอนาคตเมื่อกระแส “เพื่อสังคม” ได้เติบโตอย่างยั่งยืนในประเทศพัฒนา ก็มีแนวโน้มว่าตลาดของสวนเงินมีมาจะขยายออกไปอย่างกว้างขวาง โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาก็ได้พิสูจน์ความจริงข้อนี้เป็นอย่างดี

3.4 วิเคราะห์การเติบโตของธุรกิจ
“สวนเงินมีมา” ได้สร้างรากฐานและตราสินค้า (Brand) จนเป็นที่รู้จักของคนในวงกว้างแล้ว เมื่อบวกกับกระแสโลกที่กำลังหันมาสนใจเรื่องกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ก็ยิ่งทำให้บริษัทมีโอกาสเติบโตสูงมาก

ที่สำคัญ บริษัทยังเลือกที่จะ “สื่อสาร” กับผู้บริโภคอย่างกว้างขวาง ทั้งผ่านหนังสือ เว็บไซต์ งานสัมมนา และโครงการพิเศษอื่นๆ เช่น เครือข่ายตลาดสีเขียว โครงการ GNH ทั้งหมดได้ช่วยทำให้ธุรกิจของสวนเงินมีมาได้รับการต่อยอดและบอกต่อในกลุ่มผู้บริโภคที่อาจมีความต้องการและรสนิยมที่แตกต่างกัน ได้รู้จักและมาเป็นลูกค้าของบริษัทมากยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้

4. ผลทางสังคม/สิ่งแวดล้อม
4.1 การแก้ปัญหาทางสังคม/สิ่งแวดล้อมของบริษัท
ผลิตภัณฑ์และบริการของบริษัท ได้ช่วยแก้ปัญหาทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

1. หนังสือ
เนื่องจาก “บุคลิก” ของสำนักพิมพ์ คือ การเผยแพร่ “กระบวนทัศน์ใหม่” ทางสังคม ทั้งในเชิงการศึกษาวิทยาศาสตร์ ศาสนา ศิลปะ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ โดยปัจจุบันได้ตีพิมพ์หนังสือออกมาเกินกว่า 100รายการแล้ว โดยบางรายการนั้นก็มีการตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง มีองค์กรต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย กระทรวง บริษัทฯลฯ ได้สั่งซื้อไปเผยแพร่ให้กับบุคลากร จึงย่อมทำให้ “เนื้อหาทางสังคม” ที่บริษัทต้องการนำเสนอ ได้ซึมซาบเข้าไปในจิตใจและความคิดของบุคคลต่างๆ และบางส่วนย่อมแปรเปลี่ยนเป็นการกระทำทางสังคม

2. การปาฐกถาและเสวนา
เนื่องจากบริษัทเข้าใจถึง “ข้อจำกัด” ของหนังสือที่มีอิทธิพลต่อจิตใจของผู้คน ดังนั้น จึงได้มีการเชิญผู้เขียนมาร่วมสนทนากับนักอ่าน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อ่านที่สนใจในเรื่องเดียวกันสามารถมาแลกเปลี่ยนสนทนาและต่อยอดความรู้กันได้ ซึ่งน่าจะนำไปสู่การสร้ากลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมในอนาคตได้ดังนั้น จึงนับว่า “หนังสือ” และ “วงเสวนา” เป็นการสื่อสารทางสังคมที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน และทำให้แนวคิดเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สามารถซึมลึกและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้มากกว่าใช้เพียงสื่อใดสื่อหนึ่งเพียงอย่างเดียว

หลังจากงานเสวนาหลายต่อหลายครั้ง ได้มีผู้ฟังจำนวนหนึ่งบังเกิดแรงบันดาลใจ และติดต่อเข้ามาเพื่อขอความช่วยเหลือในการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ จึงนับว่าบริษัทประสบความสำเร็จในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างน้อยในระดับหนึ่ง

3. เครือข่ายตลาดสีเขียว
หลังจากที่บริษัทได้สร้างอิทธิพลทางความคิดผ่านตัวหนังสือและวงเสวนามาระดับหนึ่งแล้ว จึงได้รับทุนจากหน่วยงานภายนอก เพื่อให้เป็น “ตัวกลาง” ในการประสานเครือข่ายเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ “เครือข่ายตลาดสีเขียว” ได้เป็นตัวกลางในการประสานระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค และตลาด ล่าสุดได้จัดตั้ง “ตลาดนัดสีเขียว” ที่บริเวณอาคาร Regent House โดยพ่อค้าแม่ค้าสามารถบริหารงานกันเองได้ นอกจากนี้ ยังเข้าไปให้คำแนะนำกับผู้ผลิตในการลดเลิกการใช้สารเคมี โดยเสนอความช่วยเหลือด้านตลาดและผู้บริโภคให้กับผู้ผลิตที่เข้าร่วมโครงการ

ปัจจุบัน “เครือข่ายตลาดสีเขียว” มีผู้ประกอบการรายย่อยเข้าร่วมโครงการ 30-40 ราย มีสมาชิกบอกรับข่าวสารข้อมูลหลายพันคน และมีแผนงานที่จะขยายเครือข่าย กิจกรรม และนวัตกรรมใหม่ๆ ออกไปในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศไทย

5. แผนการบริหารจัดการ

5.1 ข้อมูลบริษัท

ชื่อ บริษัทสวนเงินมีมา จำกัด (Garden of Fruition)
ที่อยู่Q ๑๑๓-๑๑๕ ถนนเฟื่องนคร ตรงข้ามวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๖๒๒ ๐๙๕๕. ๐ ๒๒๒๒ ๕๖๙๘
โทรสาร ๐ ๒๖๒๒ ๓๒๒๘
“โครงสร้างผู้ถือหุ้น” ดังนี้
ชื่อ หน่วยงาน เวบไซด์
๑.อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ www.sulak-sivaraksa.org
๒. มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป www.semsikkha.org
๓. อาศรมวงศ์สนิท www.semsikkha.org
๔. เสมสิกขาลัย www.semsikkha.org
๕. สถาบันสันติประชาธรรม www.sulak-sivaraksa.org
๖. ปรีดา เตียสุวรรณ์ บริษัทแพรนด้าจิวเวลรี่ www.pranda.com
๗. ธีรพล นิยม มูลนิธิสานแสงอรุณ www.thailandkid.com
๘. เสถียร เศรษฐสิทธิ์ โรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง www.tawandang1999.com
๙. สมเกียรติ อภิญญาชน บริษัทเอพินาอุตสาหกรรม www.apina.co.th
๑๐.ประวิทย์ เยี่ยมแสนสุข ห้างหุ้นส่วนวังแดงเอ็กซ์เพรส www.wangdex.co.th
๑๑.อภิสิรี จรัลชวนะเพท, มาซากิ ซาโต้โรงเรียนอนุบาลบ้านรักwww.baanrakk.th.edu
๑๒.สุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง บริษัทวันเดอร์เวิลด์ www.wonderworldtoy.com
๑๓.บริษัท เคล็ดไทย จำกัด www.kledthai.com
๑๔.ศิโรช อังสุวัฒนะ
๑๕.วัลลภา แวน วิลเลี่ยนส์วาร์ด http://www.suan-spirit.com
๑๖.ฮันส์ แวน วิลเลี่ยนส์วาร์ด http://www.suan-spirit.com

ออกเดินไปด้วยกันนะจ๊ะ ^^

2เพื่อนร่วมทาง Empty ขอคลานไปนะจ๊ะ Thu Aug 05, 2010 1:43 pm

peeraya



ได้สาระดีมากเลยพี่แหม่ม เดี๋ยวเราจะตั้งบริษัท "สวนเรามีกิน" คู่กับสวนเงินมีมา
ค่อยๆทำกันวันละหน่อย ศึกษาคนอื่นไปด้วย เรียกว่าคลานไปด้วยกันก็แล้วกันนิ Very Happy

kobmanee



หนอนน้อยค่อยกระดื้บหาทำแลทำรัง
ก่อนฉีกรังไหมกลายเป็นผีเสื้อ

55555

ว่าไปนั่น เรื่องเพ้อฝันเนี่ยขอให้บอก Razz

ขึ้นไปข้างบน  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ