สโมสรเพื่อนตะวันออก
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
สโมสรเพื่อนตะวันออก

peunpeuntawanok.forumsmotion.com


You are not connected. Please login or register

-กระดาษทด- เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออก

Go down  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

กัญจน์


Admin

เหตุการณ์สำคัญในภาคตะวันออก ตั้งแต่ช่วงต้น พ.ศ.๒๕๐๐ – ปัจจุบัน
ปรับปรุงล่าสุด ๒๒/๑/๕๕
ก่อน พ.ศ. ๒๕๒๕
○ มีเหมืองพลอยเกิดขึ้น
○ ภูเขาและป่าไม้ถูกทำลาย
○ สิ้นสุดสงครามในกัมพูชา มีการวางกับดักระเบิดเป็นจำนวนมาก
○ มีการให้สัมปทานป่าไม้
○ ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น มันสำปะหลัง อ้อย
○ ส่งเสริมให้มีการเพิ่มประชากร
○ เริ่มใช้สารเคมี คือ DDT ในการกำจัดศัตรูพืช
○ มีการทำฟาร์มหมู ไก่
○ ภาคตะวันออก เป็นแหล่งผลิตข้าวที่ดีที่สุด
○ ส่งเสริมการเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว
○ ช่วงสงครามเวียดนาม มีการตั้งฐานทัพสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย และเกิดแหล่งพักผ่อนของทหารอเมริกัน คือ พัทยา
○ มีการตัดถนน ผ่านพื้นที่ป่า
○ มหาวิทยาลัยบูรพา (มศว.) เริ่มคัดค้านแผนพัฒนาชายฝั่งฯ
○ มีการก่อตั้งอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
○ เกิดการคัดค้านจากขบวนการประชาชนต่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมี

พ.ศ.๒๔๖๐
- ตัดเส้นทางรถไฟในจังหวัดฉะเชิงเทราเพื่อขนส่งไม้
พ.ศ.๒๔๗๕
- บ.เอื้อวิทยา ได้รับสัมปทานป่าไม้เป็นครั้งแรกของจังหวัดฉะเชิงเทรา
พ.ศ.๒๔๙๔
- ประเทศไทยเริ่มใช้สารดีดีที (DDT)
พ.ศ.๒๔๙๘
- ถนนกบินทร์บุรี-ปักธงชัย ก่อสร้างเป็นถนนลูกรังตลอดสาย
พ.ศ.๒๕๐๐
- เป็นยุคที่เริ่มมีการทำสัมปทานป่าไม้เถื่อน
- เริ่มมีการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น มันสำปะหลัง
พ.ศ.๒๕๐๔
- มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๐๙ เน้นการพัฒนาด้านสาธารณูปโภค เพิ่มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
พ.ศ.๒๕๑๑
- ช่วงสงครามเวียดนาม มีการก่อสร้างถนนกบินทร์บุรี-ปักธงชัยเป็นถนนลาดยาง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๐๘ ระยะทาง ๑๓๒.๕ กิโลเมตร ความกว้าง ๒๒ ฟุต เพื่อประโยชน์ทางด้านยุทธศาสตร์และเชื่อมชายฝั่งทะเลตะวันออกกับภาคอีสาน ด้วยมูลค่าโครงการ ๑๖ ล้านเหรียญสหรัฐ
พ.ศ.๒๕๑๓
- รัฐบาลเปิดให้สัมปทานป่าไม้อย่างเป็นทางการ มีผู้คนอพยพเข้ามาจับจองที่ดินทำกิน ชาวอีสานเข้ามาเป็นแรงงานขนไม้
พ.ศ.๒๕๑๗
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑ (พนมสารคาม-สัตหีบ) ก่อสร้างขึ้นและเปิดใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๗ ในสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร เพื่อสนับสนุนภารกิจทางการทหารในสงครามอินโดจีน ในการขนอาวุธยุทโธปกรณ์จากท่าเรือจุกเสม็ด หรือการท่าเรือสัตหีบ และสนามบินอู่ตะเภา ต.พลา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ไปยังฐานทหารอเมริกาที่ จ.นครราชสีมา โดยได้รับความช่วยเหลือจากประเทศสหรัฐอเมริกาในการก่อสร้าง
- ก่อตั้ง “สหพันธ์ชาวนาชาวไร่ ภาคตะวันออก”
พ.ศ.๒๕๑๘
- ครม.มีมติให้ประชาชนสามารถจับจองพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมเพื่อทำการเกษตรได้ หรือที่เรียกว่า “ยุคเปิดป่า” ส่งผลให้ชาวอีสานอพยพเข้ามามาก จนเรียกช่วงนี้ว่า “ยุคป่าแตก”
พ.ศ.๒๕๒๒
- ในหลวงโปรดเกล้าให้จัดตั้ง “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
พ.ศ.๒๕๒๓
- ธ.ค. - รัฐบาลที่นำโดยนายกฯ เปรมได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐานบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก
พ.ศ.๒๕๒๔
- มีแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก มีการสร้างท่าเรือน้ำลึก
- ผญ.วิบูลย์ เข็มเฉลิม บุกเบิกแนวคิด “วนเกษตร” ใน อ.สนามชัยเขต และพัฒนาเป็นมูลนิธิวนเกษตรเพื่อสังคม ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้มาจนถึงปัจจุบัน
พ.ศ.๒๕๒๕
- ในหลวงมีพระราชดำริให้สร้างอ่างเก็บน้ำคลองระบม
- “ยูคาลิปตัส” แจ้งเกิดใน จ.ฉะเชิงเทรา โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่๕ (๒๕๒๕-๒๕๒๙) ผลักดันให้เอกชนปลูกป่าเพิ่มปีละ ๓๐๐,๐๐๐ ไร่ และฉะเชิงเทราถูกกำหนดให้เป็น ๑ ใน ๕ จังหวัดศูนย์กลางทำอุตสาหกรรมแปรรูปไม้โตเร็ว

พ.ศ. ๒๕๒๕ – ๒๕๓๕
○ เหมืองพลอยยุติการดำเนินกิจการ
○ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นพื้นที่สีม่วง (เพื่อการอุตสาหกรรมและคลังสินค้า) และมีขบวนชาวบ้านคัดค้าน
○ เปิดการให้สัมปทานป่าไม้ในประเทศกัมพูชา
○ เศรษฐกิจเติบโตจากอุตสาหกรรม - นากุ้งก็เฟื่องฟู
○ มีประกาศขยายเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า
○ เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่
○ อุตสาหกรรมกระดาษดับเบิลเอ ส่งเสริมการปลูกไม้ยูคาลิปตัส และสร้างโรงงาน
○ ชายหาดบางแสนเริ่มสกปรก
○ พื้นที่ภาคตะวันออกอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น ๑ (ชั้น ๑ เอ พื้นที่ป่าต้นน้ำ มีสภาพป่าที่ยังอุดมสมบูรณ์ ส่วนชั้น ๑ บี สภาพป่าส่วนใหญ่ถูกทำลาย ดัดแปลง)
○ นายทุนยึดพื้นที่ต้นน้ำ มีการส่งเสริมการเกษตรเชิงเดี่ยว
○ เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
○ เกิดการรวมกลุ่มของภาคประชาชน
○ มีการเสนอข้อมูลพื้นที่ ต่อเวทีในระดับชาติ
○ เกิดกรณีพิพาทระหว่างกองทัพเรือกับประชาชนบนเกาะช้าง

พ.ศ.๒๕๒๕
- มีแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก (Eastern Seaboard) ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๕ – ๒๕๒๙) http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p5/M4_2.doc
พ.ศ.๒๕๒๖
- เครือเกษตรรุ่งเรืองกว้านซื้อที่ดินหลายหมื่นไร่
- มี.ค. ประกาศห้ามใช้ DDT
พ.ศ.๒๕๓๐
- มีการจัดตั้งหมู่บ้านแถบนาอีสาน/นายาว
พ.ศ.๒๕๓๒
- ๖ มี.ค. บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จัดตั้งโครงการนิคมอุตสาหกรรมบางปะกง ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น “นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร” ซึ่งจัดอยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุนเขตที่ ๒ โดยเป็นโครงการที่ดำเนินงานโดยภาคเอกชนร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บนเนื้อที่ประมาณ ๖,๐๐๐ ไร่ ตั้งอยู่ กม.ที่ ๕๗ ถนนบางนา-ตราด
พ.ศ.๒๕๓๓
- ๒๒ ม.ค. เครือเกษตรรุ่งเรืองถูกแจ้งข้อหาบุกรุกป่าสงวน โดยมีหลักฐานพร้อมมูลที่เชื่อถือได้ว่า พื้นที่กว่า ๔๐,๐๐๐ ไร่นั้นมีที่ผ่านการอนุมัติจากกรมป่าไม้ให้เข้าใช้ประโยชน์ได้เพียง ๑,๘๐๐ ไร่เท่านั้น
พ.ศ.๒๕๓๔
- ป่าชายเลนถูกทำลายอย่างรุนแรงจากนากุ้ง
พ.ศ.๒๕๓๕
- มีการนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้ (Vat ๗%)
- ประชาชนมีการทิ้งถิ่น ขายที่ดิน
- มีการจัดตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ที่จังหวัดตราด โดย พระอาจารย์สุบิน ปณีโต
- ๑๒/๐๙/๓๕ – มีมติ ครม. ให้จัดตั้ง บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก http://www.pwa.co.th/general/eastwater.html
- มีการตั้งโรงงานโม่หินที่เขาชะอาง จ.ระยอง
- มีการรณรงค์เลี้ยงตะพาบน้ำ

พ.ศ.๒๕๓๖ – ๒๕๔๕
○ นากุ้งล่มสลาย
○ เกิดไฟไหม้ที่เกาะช้าง
○ มีเรือเฟอรี่ข้ามไปเกาะช้าง
○ การท่องเที่ยวเกาะช้างคึกคัก
○ ด่านการค้าชายแดนเปิด พร้อมบ่อนการพนัน
○ เกิดน้ำท่วม จันทบุรี ตราด
○ มีการออกเอกสารสิทธิ์ สปก.
○ การเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการ งานวิจัย และการตรวจสอบ
○ สหประชาชาติเข้ามาช่วยเหลือเรื่องงานสิ่งแวดล้อม
○ เกิดเครือข่ายประชาสังคมภาคตะวันออก
○ เกิดปฏิณญาว่าด้วยการคุ้มครองของนักต่อสู้
○ การต่อสู้ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นเครือข่าย

พ.ศ.๒๕๓๗
- ถนนสุขุมวิท จันท์ – ตราด ขยายเป็น ๔ เลนส์
- เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในจังหวัดตราด ในพื้นที่ เขาสมิง บ่อไร่ และเกาะช้าง
- ปัญหาเรื่องคราดหอยและเรืออวนรุนบุกรุกพื้นที่ ๓,๐๐๐ เมตร ที่รัฐแก้ไม่ได้มานาน
- มีโรงงานอุตสาหกรรมกำจัดขยะเจนโก้ (GENCO) ที่มาบตาพุด
พ.ศ.๒๕๓๙
- ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส๑
- ก่อตั้งโรงงานโตโยต้าเกตเวย์ และก่อตั้งศูนย์ฝึกอบรมโตโยต้าสุวินทวงศ์
- ๑๕ ต.ค. - กรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนทดน้ำบางปะกง
พ.ศ.๒๕๔๐
- ท่าเรือแหลมฉบัง เฟส๒
- เกิดมลพิษที่มาบตาพุด (โรงเรียนย้ายหนีโรงงาน)
- เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ฟองสบู่แตก
- ราคาผลไม้เริ่มตกต่ำมาก จนมีม็อบเทผลไม้แทบทุกปี
พ.ศ.๒๕๔๑
- เกิดกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม (SIF : Social Investment Fund ) หรือชื่อย่อว่า กองทุนชุมชน เงินกู้จากธนาคารโลก (World Bank)
- มอเตอร์เวย์เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๗ ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดการจราจรตลอดสายเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑
พ.ศ.๒๕๔๕
- มีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการปฏิรูประบบราชการ
- ครม.ทักษิณ สัญจร อนุมัติพื้นที่พิเศษเกาะช้าง

พ.ศ. ๒๕๔๖ – ปัจจุบัน
พ.ศ.๒๕๔๖
- ไข้หวัดนกระบาดเริ่มระบาดในประเทศไทย
พ.ศ.๒๕๔๗
- ขยะล้นเกาะช้าง
- “ลอยกระทงน้ำเค็ม” เกิดขึ้นในแม่น้ำบางปะกง
- พ.ศ.๒๕๔๗-๔๘ เกิดภัยแล้ง น้ำในอ่างเก็บน้ำ สียัด ดอกกราย หนองปลาไหล หนองค้อ แควระบม แห้งหมด เกิดการแย่งชิงน้ำจากภาคเกษตร ไปให้ภาคอุตสาหกรรม โดยบริษัท อีสวอเตอร์ มีการสร้างอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ที่ปลวกแดง อ่างเก็บน้ำประแสสร้างเสร็จอยู่ระหว่างการเก็บน้ำ
พ.ศ.๒๕๔๘
- เกิดมลพิษที่มาบตาพุด (โรงพยาบาลย้ายหนีโรงงาน)
- ๑-๒ ส.ค. ประชุม ครม.สัญจรที่มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี อ.เมือง จ.จันทบุรี (สรุปสาระสำคัญมติ http://www.soc.soc.go.th/SLK/SHOWLISTALL.ASP?BDate=2005/08/01&EDate=2005/08/31&Pagegroup=1)
พ.ศ.๒๕๔๙
- ๒๘/๐๘/๔๙ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการ
- เกาะช้าง เป็นพื้นที่พิเศษ โดยองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.)
- ท่าเรือน้ำลึก อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
- เกิดเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อม เช่น แม่น้ำบางปะกง เยาวชนรักษ์บ้านเกิด ป่าชุมชน ยางนา ฯลฯ
พ.ศ.๒๕๕๐
- เปิดโรงงานโตโยต้าบ้านโพธิ์
พ.ศ.๒๕๕๑
- เกิด พรบ.สภาองค์กรชุมชน นำมาสู่การจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบล
- วิกฤตเศรษฐกิจอีกครั้ง
พ.ศ.๒๕๕๓
- เกาะกูดถูกนักลงทุนบุกรุกที่ดิน..มีการสร้างสนามบินเอกชนบนเกาะ?.(ผู้ว่า,ข้าราชการป่วยเป็นใบ้).มีการระเบิดหินเอาไปถมทะเลสร้างท่าเรือน้ำลึก
- ภัยรบกวนจากบ้านนก?
- กลุ่มธรรมาภิบาล สมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย ยื่นตรวจสอบภาษี ๒ บริษัทที่ได้สัมปทานบริหารท่าเรือแหลมฉบัง http://bit.ly/aco7i3
- ครม. อนุมัติให้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองหลวง (กำลังก่อสร้าง) http://www.chonburivoice.com/news.php?readmore=67
พ.ศ.๒๕๕๔
- โครงการโรงถลุงเหล็ก อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี
- โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
- เกิดน้ำท่วมใหญ่ในภาคตะวันออก
- ท่อน้ำของอีสวอเตอร์ มาจ่อที่ อ.บ่อไร่ จ.ตราด เพื่อแย่งน้ำไปใช้ที่นิคมอุตสาหกรรม
- โครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง เฟส3

http://peuntawanok.forumsmotion.com

ขึ้นไปข้างบน  ข้อความ [หน้า 1 จาก 1]

Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ